วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่8


บันทึกครั้งที่8
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 


ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์






                 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล และประถมศึกษา เดิมนั้นมาจากอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ โดยใช้ศาลาฟังธรรม ในอาคารจัดสรร ตามดำริของ จอมปล ป. พิบูลสงคราม เปิดทำการสอนวันแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนางพิศวง หัสนันท์เป็นครูใหญ่คนแรก จนต่อมาได้ขยายการศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


     โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมสหกรณ์ดี เด่น ประจำปี พ.ศ. 2529 และในปี พ.ศ. 2531 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น, โรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา เป็นต้น
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์มีนักเรียนจำนวน 1,772 คน บุคลากร 102 คนจัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาล, ช่วงชั้นที่ 1 - 2, โดยมีห้องเรียน 2 ภาษา และห้องปฏิบัติการทางภาษาและคณิตศาสตร์เต็มรูปแบบอีกด้วย

ประวัติ
         โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ที่ 259/444 ซอยปรีดีพนมยงค์ 13 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10110
         โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ในที่ดินของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นการเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคารตึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจุบัน)และ อาคารศาลาทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล เมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยตั้งชื่อว่า“โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์” สังกัดแผนการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา
     วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2523
     วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์ การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลงมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 8 ตารางวา ซึ่งติดกับแปลง ที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 วา 88 ตารางวา) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวมเป็นเนื้อที่ฝืนเดียวกัน รวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เพื่อใช้เป็นประโยชน์
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ดอกบัว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน เป็นดอกบัวสีชมพูกลางอักษร อ.
หูกวาง คือต้นไม้ประจำโรงเรียน มีจำนวน 2 ต้น ปลูกที่หน้าอาคาร 1 และอาคาร 2 (ปัจจุบันโดนตัดไปแล้ว)
พุทธมงคลสารประสิทธิ์ คือพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ประดิษฐาน ณ ห้องจริยศึกษา ได้รับมอบจากพระมงคลราชมุนี (สุพจ โชติปาโล) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะ 3 วัดสุทัศน์วราราม ซึ่งสร้างถวายในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2530




ระดับปฐมวัย 
- อนุบาล 3 ขวบมีห้องเรียน 3 ห้องเรียน 
- อนุบาล 1 มีห้องเรียน 5 ห้องเรียน
- อนุบาล 2 มีห้องเรียน 5 ห้องเรียน

    จำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 125 คน แยกเป็นฝ่ายบริหาร 1 คน ครู 80 คน  ครูชาวต่างชาติ 16 คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ 4 คน ลูกจ้างประจำ 8 คนและลูกจ้างชั่วคราว 16 คน
    มีนักเรียนทั้งสิ้น 1365 คน
จัดการศึกษา  2 หลักสูตร
   1. โรงเรียนมาตรฐานสากล World class standard school
   2. หลักสูตร Mini English program แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ อนุบาลปีที่ 1 และอนุบาลปีที่ 2 ระดับปฐมศึกษาปีที่ 1- 6


แหล่งที่มาของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

หลักการของหลักสูตรปฐมวัยหรืออนุบาล การจัดการศึกษาปฐมวัย ควรประกอบไปด้วย
    1. เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อเด็กเป็นรายบุคคล
    2. มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน และปฏิบัติต่อเด็กให้สอดคล้องกัน
    3. จัดและให้ประสบการณ์แก่เด็กในมุมกว้าง และเชื่อมโยงความรู้เข้าหากันและต่อเนื่องกัน
    4. ให้ความสำคัญกับการเล่นและการเรียนรู้ ผ่านการสำรวจด้วยตนเองตามวิธีที่เขาถนัด ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เด็กจะบอกได้ว่าเด็กมีความถนัดในทางไหน และจะใช้กุศโลบายแบบไหนจึงจะเป็นวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้มากที่สุด
    5. เน้นการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก เพื่อเขาจะได้อยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข
    6. ให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เพื่อเขาจะได้เกิดความภาคภูมิใจ และมองเห็นว่าตัวเองมีค่าและมีความสำคัญเท่าๆ กับที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของคนอื่น

  

โรงเรียนมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ ได้แก่
    1.การจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการหมายถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำความรู้ในศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย เน้นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมให้เด็กได้ประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและมีทักษะในกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ
    2.วอลดอร์ฟ (Waldort) การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม เด็กจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการเลียนแบบ ครูและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็น
ข้อดี เด็กมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งจิตใจ ร่างกาย และความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญพวกเขาเติบโตขึ้นอย่างที่เข้าใจการเอื้ออาศัยซึ่งกันและกันของสรรพชีวิตในโลกชอบลงมือทำงานด้วยตนเองและเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
    3.Whole Language คือการสอนภาษาให้เด็กต้องเป็นการสอนภาษาที่สื่อความหมายการเรียนแบบนี้สามารถทำได้ดี เพราะในระดับอนุบาลเล็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการเล่น ที่สำคัญคุณครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เด็กจึงจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี เพราะครูเปรียบเสมือนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก
ข้อดี ของการเรียนวิธีนี้ คือ จะช่วยปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน รักหนังสือ เป็นการเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อนและสามารถนำไปใช้ได้แม้กระทั่งที่บ้าน หรือในชีวิตประจำวัน
    4.Project Approach คือแนวคิดการให้เด็กได้ศึกษาลงลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่เขาสนใจ เป็นการสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงานเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกใน หัวเรื่องที่เด็กสนใจ
 มีกิจกรรม 5 ลักษณะ ประกอบด้วย
1. การอภิปราย
2. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม                                       
4. การสืบค้น                                                                    
5. การจัดแสดง








กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฐมวัยในแต่ละวันมีดังนี้
    1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็น กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
    2.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็น กิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตาม ความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
    3.กิจกรรมเสรีเป็น กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่น กิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
    4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็น กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆด้วยวิธีการหลากหลายเช่นการสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้ 
    5.กิจกรรมกลางแจ้ง เป็น กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลาง แจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระโดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
    6.กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภท
ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน  







วิธีการประเมิน
  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่  

1.เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้าทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมี ดังนี้ 
        1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป 
       1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้อง กับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังเพื่อให้รู้ความคิดของเด็กทั้งนี้ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัด ประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไป ในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล
     1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก จากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวันครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงานเช่นเก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการ เปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความ ก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงาน และครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วย

   วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดี ต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกต เด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น

2.วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน
     2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของ เด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของ เด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม 
    2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับ ผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมาก ยิ่งขึ้นอีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่าง เหมาะสม  

ประเมินพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน

เครื่องมือที่ใช้  - การบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ( Observation )
                        - การสัมภาษณ์ ( Interview )
                        - การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก (Anecdotes )
                        - แฟ้มผลงานเด็ก ( Portfolios )
                        - การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ (Checklists )
                        - การเขียนบันทึก ( Journal )
                        - การทำสังคมมิติ ( Sociogram )
หลักการประเมิน
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก  
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ  
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน  

การจัดสภาพแวดล้อม
          การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียนเป็นองค์ประกอบสำหรับการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม ผลงานของเด็กต้องนำมาประดับห้องเรียนเสมอ ความ งดงามของธรรมชาติจะปรากฏอยู่ทั้งบริเวณกลางแจ้งและภายในอาคาร มีการนำภาพศิลปะ งานประติมากรรม กลิ่นหอมของธรรมชาติเข้ามาตกแต่ง ทำให้บรรยากาศของโรงเรียนสงบ และอ่อนโยน ภายใต้แนวคิดที่ว่า เด็กวัย 0 - 7 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบ สิ่งที่เด็กเลียนแบบในช่วงนี้จะฝังลึกลงไปในเด็ก หล่อหลอมเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ และฝังแน่นไปจนโต

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
         บริเวณภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ ควร มีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ของเล่นที่จัดไว้ เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย

สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
           บริเวณกลางแจ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับตัวอาคาร โดยจัดให้ใช้ได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นผิวควรแข็งเพื่อให้แห้งเร็วเมื่อฝนตก ควรตั้งอยู่ทางด้านที่แดดส่องถึง เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแสงแดดยามเช้า บ่อทรายควรอยู่บริเวณนี้ ไม้เลื้อยบนกำแพง ต้นไม้ และแปลงดอกไม้ช่วยให้บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่น่าสบายสำหรับเด็กๆ ส่วนที่สองอยู่ห่างจากตัวอาคารใช้เป็นที่เล่นและออกกำลังกาย ควรจัดเป็นอาณาจักรสำหรับเด็ก ทำทางสำหรับรถเข็นและทางสำหรับเดิน โดยออกแบบทางเดินให้โค้งไปมาน่าเดินและผ่านจุดที่น่าสนใจ เนินเขาเป็นจุดเสริมที่มีคุณค่ามากในสนามเด็กจะได้วิ่งขึ้นและลงเป็นการใช้ กล้ามเนื้อหลายส่วนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของพื้นที่เป็น ที่ตั้งของชิงช้า ไม้ลื่น ต้นไม้พุ่มเตี้ยๆ และปลูกไม้ดอกหรือพืชผักสวนครัว
สื่อ เป็นสื่อที่ทำจากไม้ สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น