การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย
- ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
- ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ
- ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆ ลืมตา เป็นต้น
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติ่ม
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย
- ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณ ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหวเด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
- ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ
กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น
- ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี เป็นต้น
- ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบกระโดดขาเดียว กระโดดเป็นกระต่าย เดินแบบช้าๆ เป็นต้น
- ให้เด็กเคลื่อนไหวตามรูปภาพที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบรูปเต่าไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบรูปลิงไปที่มุมบ้าน เป็นต้น
*หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ บีบแขน บีบขา เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก
2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ
3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้อง เคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล และเป็นคู่ เป็นกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน
4. ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเศษวัสดุต่างๆเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้ เข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว และให้จังหวะ
5. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
6. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน
7. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น
8. กรณีเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตามสมัครใจ
9. หลังจากเด็กได้ร่วมออกกำลังเคลื่อนไหวจังหวะต้องให้เด็กพักผ่อนโดยให้นอน เล่นบนพื้นห้อง นอนพัก หรือเล่นสมมติเป็นจังหวะช้าๆ เบาๆ สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน
10. การจัดกิจกรรมควรจัดตามกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน และควรจัดให้เป็นที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนาน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการนำการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ระดับไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก เทคนิควิธีการผ่อนคลอยหลังเด็กทำกิจกรรมให้เด็กได้พักนิ่งๆอย่างน้อย 15 วินาที
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น