วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่17



การบันทึกครั้งที่ 17
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2559 (เรียนชดเชย)


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
            กิจกรรมการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์สอนองค์ประกอบของแผน , วิธีการเขียนแผนวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้นักศึกษานำไปเขียนแผนการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง หลังจากอธิบายเสร็จ อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 4-5 คน เพื่อทดลองเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
           ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเลือกหน่วยที่จะใช้เขียนแผนมา 1 หน่วย หน่วยอะไรก็ได้แล้วแบ่งกันในกลุ่มว่าใครจะเขียนวันไหน โดยมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบในแต่ละวัน และให้นักศึกษาเขียนแผนคนละ 5 แผน หน่วยใดก็ได้เพื่อมาใช้สำหรับสอบปฏิบัติปลายภาค

กิจกรรมภายในห้องเรียน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    - สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี 
การประเมินผล
   ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน
   ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
   ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่16


การบันทึกครั้งที่ 16
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน  พ.ศ.2559


วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (Music & movement) 
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายด้วยการแสดงท่าทางให้สอดคล้องและเข้ากับ จังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลงเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ใน ช่วงกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย การเคลื่อนไหวประกอบเพลง มุ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง จากการใช้ร่าง กายเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางต่างๆให้สอดคล้องจังหวะ ท่วงทำนอง และเนื้อหาของเพลง โดยครูอาจจัดให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลงทั้งเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้ รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน 
แหล่งที่มา การเคลื่อนไหวประกอบเพลงมีดังนี้ >.<
            อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน
            อันดับที่สอง ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงตามหน่วยต่างๆ พร้อมให้เด็กทำท่าประกอบตามจินตนาการ และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง


ภาพกิจกรรมในห้องเรียน








วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
         การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยให้ผู้ฝึกเกิดความแข็งแรง 
ความคล่องแคล่ว และมีการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ
การเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยมีอุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถฝึกปฏิบัติหลายแบบ เช่น นำสิ่งของที่อยู่รอบตัวมาใช้ในการสอนได้หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง


ภาพกิจกรรมภายในห้องเรียน



การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์มีดังนี้   
 อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน
 อันดับที่สอง ครูแนะนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา พร้อมให้เด็กทำตามคำสั่งของครู  เช่น ให้เด็กแกว่งพู่ไปทางซ้าย ทางขวา ข้างลำตัว เป็นต้น
         สามารถบรูณาการวิชาคณิตศาสตร์เรื่องของทิศทาง ตำแหน่งต่างๆได้ด้วย และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จก็ต้องให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย การเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลงและการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
    ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกครั้งที่15


การบันทึกครั้งที่ 15
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน  พ.ศ.2559


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันสงกรานต์)


บันทึกครั้งที่14


  การบันทึกครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน  พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    กิจกรรมวันนี้ คือ การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงโดยอาจารย์ให้สอนเป็นคู่  เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงเลยก็ได้ตามหน่วยต่างๆ เคลื่อนไหวตามข้อตกลง ดังนี้

วันนี้คุณครูหนึ่งและคุณครูเค้กสอน
อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน

อันดับสอง ครูให้เด็กๆจับมือกันเป็นวงกลมแล้วแจกบัตรภาพคนละ 1 ภาพ


 อันดับสาม ให้เด็กๆ ตั้งใจฟังคำสั่งของครูและปฏิบัติตามทันที


 หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง


คุณครูกวางและคุณครูกายสอน






วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากคาบที่แล้วคือกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงเลยก็ได้ตามหน่วยต่างๆ
เคลื่อนไหวตามข้อตกลง ดังนี้
วันนี้คุณครูหนิงและคุณครูเป้สอน
อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน





ภาพกิจกรมเพิ่มเติม




การประเมินผล
  ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
  ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่13


การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลง เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอะไรตายตัว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง

  1. ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี มุมบ้าน เป็นต้น 
  2. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบเดินเร็วๆ เดินแบบช้าๆตามจังหวะการเคาะ เป็นต้น
  3. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำพูดที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวท่าแมวไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบเสือไปที่มุมบ้าน เป็นต้น 
  4. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามภาพที่ครูสั่ง เช่น ภาพวงกลมให้เด็กทำท่าส่ายเอว ภาพสี่เหลื่ยมให้เด็กทำท่่ากระโดดอยู่กับที่ เป็นต้น
  5. ครูตบมือ 1 ครั้ง เด็กๆจับหัว ครูตบมือ 2 ครั้งเด็กๆจับไหล่ ครูตบมือ 3 ครั้ง เด็กๆจับเอว เป็นต้น
  6.  หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ นวดไหล่ นวดแขน นวดขา บิดตัว เป็นต้น
อาจารย์สาธิตวิธีการสอน







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย และการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง
.............................................................................................................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม  พ.ศ.2559

งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม