วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่13


การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลง เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอะไรตายตัว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง

  1. ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี มุมบ้าน เป็นต้น 
  2. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบเดินเร็วๆ เดินแบบช้าๆตามจังหวะการเคาะ เป็นต้น
  3. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำพูดที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวท่าแมวไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบเสือไปที่มุมบ้าน เป็นต้น 
  4. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามภาพที่ครูสั่ง เช่น ภาพวงกลมให้เด็กทำท่าส่ายเอว ภาพสี่เหลื่ยมให้เด็กทำท่่ากระโดดอยู่กับที่ เป็นต้น
  5. ครูตบมือ 1 ครั้ง เด็กๆจับหัว ครูตบมือ 2 ครั้งเด็กๆจับไหล่ ครูตบมือ 3 ครั้ง เด็กๆจับเอว เป็นต้น
  6.  หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ นวดไหล่ นวดแขน นวดขา บิดตัว เป็นต้น
อาจารย์สาธิตวิธีการสอน







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย และการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง
.............................................................................................................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม  พ.ศ.2559

งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม





วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่12


การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
        กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย


  • ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง


  • ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ


  • ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆ ลืมตา เป็นต้น  




ภาพกิจกรรมเพิ่มเติ่ม









วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม  พ.ศ.2559
  
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
        กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย
  • ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณ ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหวเด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
  • ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ
  • ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆลืมตา เป็นต้น 





          กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น
  1. ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี เป็นต้น 
  2. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบกระโดดขาเดียว กระโดดเป็นกระต่าย เดินแบบช้าๆ เป็นต้น
  3. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามรูปภาพที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบรูปเต่าไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบรูปลิงไปที่มุมบ้าน เป็นต้น
*หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ บีบแขน บีบขา เป็นต้น









  ข้อเสนอแนะ
   1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก
   2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ
   3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้อง เคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล และเป็นคู่ เป็นกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน
   4. ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเศษวัสดุต่างๆเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้ เข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว และให้จังหวะ
   5. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
   6. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน
   7. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น
   8. กรณีเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตามสมัครใจ
   9. หลังจากเด็กได้ร่วมออกกำลังเคลื่อนไหวจังหวะต้องให้เด็กพักผ่อนโดยให้นอน เล่นบนพื้นห้อง นอนพัก หรือเล่นสมมติเป็นจังหวะช้าๆ เบาๆ สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน
   10. การจัดกิจกรรมควรจัดตามกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน และควรจัดให้เป็นที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนาน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการนำการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ระดับไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก เทคนิควิธีการผ่อนคลอยหลังเด็กทำกิจกรรมให้เด็กได้พักนิ่งๆอย่างน้อย 15 วินาที 

การประเมินผล
  ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
  ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่11


การบันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
       กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมผู้นำผู้ตาม กิจกรรมผ่อนคลาย

       ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก 
       เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง 






            การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม ครูให้เด็กๆจับมือเป็นวงกลมขยายออกให้กว้าง ครูจะเลือกเด็กออกมาเป็นผู้นำท่าต่างๆคนละ 1 ท่า โดยดูว่าใครยืนเรียบร้อยที่สุดก็จะถูกเลือกออกมาเป็นผู้นำตรงกลาง แล้วเพื่อนคนอื่นๆก็ต้องทำท่าตามไปด้วย



      การผ่อนคลายแบบที่1  ครูให้เด็กๆนั่งลงเป็นวงกลม เหยียดขาออกมา แล้วค่อยๆทุบ ทุบขาซ้าย ทุบขาขวา ทุบแขนซ้าย ทุบแขนขวา ไล่จากบนลงล่าง ทุบเบาๆ จากนั้นให้เด็กๆยกแขนซ้ายขึ้นหันหน้าไปทางซ้าย นวดไหล่ให้เพื่อน กลับหลังหัน นวดไหล่ให้เพื่อน



การผ่อนคลายแบบที่ 2 ครูให้เด็กๆนอนลงแล้วบรรยายตามจินตนาการของครู










วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2559


กิจกรรมในวันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย



   ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณ ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง

  ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ

  ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆ ลืมตา เป็นต้น 










                   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทครูกับกิจกรรมตามคำบรรยาย โดยในวันนี้ได้แก่ คุณครูอ้อน



คุณครูอัน




 คุณครูกวาง




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการนำการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ระดับไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก เทคนิควิธีการผ่อนคลอยหลังเด็กทำกิจกรรมให้เด็กได้พักนิ่งๆอย่างน้อย 15 วินาที 

การประเมินผล
  ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
  ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่10


การบันทึกครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
      กิจกรรมแรก อาจารย์สาธิตวิธีการสอนเด็กในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน , กิจกรรมเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา , กิจกรรมเคลื่อนไหวผ่อนคลาย
กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกทุกครั้งก่อนที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป ลักษณะการจัดกิจกรรมมีจุดเน้นในเรื่องจังหวะ การเคลื่อนไหว หรือทำท่าทางอย่างอิสระ ทำให้เด็กทราบถึงข้อตกลงในเรื่องสัญญาณและจังหวะ ซึ่งครูจะใช้เครื่องให้จังหวะชนิดใดก็ได้ โดยครูต้องทำความเข้าใจกับเด็กก่อนว่า สัญญาณนั้นหมายถึงอะไร เช่น ให้จังหวะ 1 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ แสดงว่าให้เด็กเดินหรือเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ตามจังหวะ ให้จังหวะ 2 ครั้งต่อกันแสดงว่า ให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว โดยเด็กจะต้องหยุดนิ่งจริงๆ หากกำลังอยู่ในท่าใดก็ต้องหยุดนิ่งในท่านั้นจะเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าไม่ได้
     กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเน้นการทบทวนเรื่องที่ได้รับรู้จากกิจกรรมอื่น และนำมาสัมพันธ์กับเนื้อหา โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมหลายวิธี





  •  คุณครูอธิบายการสัญญาณการเคาะจังหวะ 
  • คุณครูเลือกเด็กมา 1 คน พร้อมกำหนดหน่วยให้เด็กเพื่อให้เด็กคิดท่าทางของตนเอง





  • กิจกรรมสุดท้ายของการทำกิจกรรมคือ กิจกรรมผ่อนคลายโดยการนวดตามร่างกายเบาๆ หรือตามคำบรรยายของคุณครูก็ได้



  • อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน แสดงบทบาทเป็นครูโดยทำการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน , กิจกรรมเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา , กิจกรรมเคลื่อนไหวผ่อนคลาย 





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        สามารถนำความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย มาจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้ นำความรู้ที่ได้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐานไปสอนเด็กปฐมวัยได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น