วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่6


การบันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
.......................................................................................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

             กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่โดยมีเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อันดับแรกต้องให้เด็ก ๆ หาพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมได้เหมาะสม ไม่เกะกะเพื่อน สามารถแกว่งแขนเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้สะดวกพอสมควร
       คุณครูจะเคาะ1ครั้ง ให้เด็ก ๆก้าวเท้า1ก้าว
              -เคาะ2ครั้ง ให้เด็ก ๆ ก้าว2ก้าว
              -เคาะรัวๆ ให้เด็ก ๆเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
              -เคาะ2ครั้งติดกัน ให้เด็ก ๆ หยุด
*ซึ่งการก้าวเท้า สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระทุกทิศทาง แต่ห้ามชนกับเพื่อน










กิจกรรมต่อมา อาจารย์แนะนำอุปกรณ์การใช้กระดิ่ง ในการประกอบกิจกรรมการเคลื่อนไหว 

            อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้นักศึกษาคิดท่าทางการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดิ่งในการให้สัญญาณ  ใช้กระดิ่งเสียงสูงประกอบท่าก้อนเมฆอันกว้างใหญ่ ใช้กระดิ่งเสียงต่ำประกอบท่าจุดเล็ก ๆ  

อุปกรณ์ในการให้สัญญาณ 











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
      นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น




วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่5



บันทึกการเรียนครั้งที่5
วันพฤหัสบดี ที่11 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30-11.30น.


เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
สมรรถนะ (Competency) คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย
(ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน




ความสำคัญ - ทำให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น
                   - ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน"คู่มือ"ช่วยแนะแนว
                   - ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น

สมรรถนะ7ด้าน ประกอบด้วย
1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านสังคม
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์



กิจกรรมการเคลื่อนไหว
อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวก่อนเข้าสู่การเรียน โดยการเคลื่อนไหวรูปแบบเบนยิม การใช้ สติ สมาธิกับการเคลื่อนไหว ประมาณ4-5 ท่า ทำให้นักศึกษาได้ใช้สมาธิ ไหวพริบ ในการทำกิจกรรมนี้



อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ ตามรูปแบบเบนยิม ประมาณ6-7ท่า ทำให้นักศึกษาได้ฝึกการเคลื่อนไหว ได้รู้วิธีการและรูปแบบการเคลื่อนไหว



อาจารย์ทบทวนระดับของการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ และสาธิตให้นักศึกษาดู ซึ่งประกอบด้วย3ระดับ
1.ระดับต่ำ      2.ระดับกลาง     3.ระดับสูง



อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงของเครื่องดนตรี หรือที่เรียกว่า กระดิ่ง ที่ใช้สำหรับสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย โดยจะมีกระดิ่ง2อัน เสียงต่ำ และ เสียงสูง



          อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่โดยมีเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อันดับแรกต้อให้เด็กๆที่พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมได้เหมาะสม ไม่เกะกะเพื่อน สามารถแกว่งแขนเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้สะดวกพอสมควร

อาจารย์จะเคาะ1ครั้ง ให้นักศึกษาก้าวเท้า1ก้าว
                 เคาะ2ครั้ง ให้นักศึกษาก้าว2ก้าว
                 เคาะรัวๆ ให้นักศึกษาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
                 เคาะ2ครั้งติดกัน ให้นักศึกษาหยุด
*ซึ่งการก้าวเท้า สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระทุกทิศทาง แต่ห้ามชนกับเพื่อน



ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้จักวิธีการสอนเคลื่อนไหว ได้ฝึกการเคลื่อนไหวอย่างมีสมาธิ ได้ฝึกการกล้าแสดงออก

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ตั้งใจฟังอาจารย์เวลาอาจารย์สอน
-แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้อย่างดี
-ทุกคนมีความกล้าที่จะแสดงออก
-ทุกคนแต่งกายสุภาพ

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่เข้าใจง่ายน่าสนใจ
-ให้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-พูดจาไพเราะ น่ารัก และเป็นกันเองกับนักศึกษา





























วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่4


การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
           ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอนักทฤษฎีการเคลื่อนไหวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

กลุ่มที่หนึ่ง ด้านสังคม นักทฤษฎีคือ แบนดูร่า , อิริคสัน





กลุ่มที่สอง ด้านร่างกาย นักทฤษฎีคือ ฟรอยด์ , กีเซล  





กลุ่มที่สาม ด้านสติปัญญา นักทฤษฎี คือ เพียเจต์ , บรูเนอร์




กลุ่มที่สี่ ด้านอารมณ์ นักทฤษฎีคือ กิลฟอร์ด , ทอร์แรนซ์ , Divito





วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

               วันนี้ในช่วงแรกอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ " เสียตัว เสียใจ " เป็นข้อคิดให้กับนักศึกษาได้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยต่อไป


                   ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ 1 ท่า พร้อมทั้งให้เพื่อนๆ ทำตามท่าของตนเอง

 

                อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน คิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มละ 10 ท่า ห้ามซ้ำกัน พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย



กลุ่มที่1

กลุ่มที่2

กลุ่มที่3

กลุ่มที่4

               
            และกิจกรรมสุดท้ายของการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ คนละ 3 ท่า พร้อมทั้งเป็นการฝึกให้นักศึกษาทุกคนสบตากับเพื่อนๆ ในห้องเรียน ขณะที่สอนการทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างไม่เขิลอายเด็กๆ 





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น