วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่2


การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559




                                               วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ในวันนี้เรียนทฤษฎีของวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ การตี
3. การตบมือหรือดีดนิ้ว
- ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง......
- ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัย

เมื่อพิจารณาจากความพร้อมและความสนใจของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
4. การเล่นเกมประกอบเพลง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ

หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมตามธรรมชาติ
ชีวิตรอบตัวเด็ก
ชีวิตสัตว์ต่างๆ
ความรู้สึก
เสีงต่างๆ

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
การฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง

 จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ครูควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ ความกล้า
ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป

แนวทางการประเมิน
สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
สังเกตการแสดงออก
สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้ออกมาเต้นเพลงของตนเองที่ไปฝึกมา












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำท่าเต้นไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็กๆ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนุกกับการทำกิจกรรม มีความสุขทุกครั้งที่เรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เสมอต้นเสมอปลาย มีแนวการสอนที่น่าสนใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น