วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่3


การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนทฤษฎีเกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ


ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น

           เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
           เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเล่นเกมประกอบเพลง
การเล่นเกมต่างๆ ของไทย
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเต้นรำพื้นเมือง

เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
       เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
การเดิน
การวิ่ง
การกระโดดเขย่ง
การกระโจน
การโดดสลับเท้า
การสไลด์
การควบม้า

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม
การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ
การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย
                การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง 
บริเวณและเนื้อที่
               การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา

ระดับการเคลื่อนไหว
           ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น

ทิศทางของการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ

การฝึกจังหวะ การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง 
สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

แนวทางการประเมิน
สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
สังเกตการแสดงออก
สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม










วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
(ไม่มีการเรียนการสอน)

บันทึกครั้งที่2


การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559




                                               วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ในวันนี้เรียนทฤษฎีของวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ การตี
3. การตบมือหรือดีดนิ้ว
- ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง......
- ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัย

เมื่อพิจารณาจากความพร้อมและความสนใจของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
4. การเล่นเกมประกอบเพลง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ

หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมตามธรรมชาติ
ชีวิตรอบตัวเด็ก
ชีวิตสัตว์ต่างๆ
ความรู้สึก
เสีงต่างๆ

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
การฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง

 จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ครูควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ ความกล้า
ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป

แนวทางการประเมิน
สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
สังเกตการแสดงออก
สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้ออกมาเต้นเพลงของตนเองที่ไปฝึกมา












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำท่าเต้นไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็กๆ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนุกกับการทำกิจกรรม มีความสุขทุกครั้งที่เรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เสมอต้นเสมอปลาย มีแนวการสอนที่น่าสนใจ



วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่1


การบันทึกครั้งที่ 1 / วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ.2559



     เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

        อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการพูดคุยกับนักศึกษาและอธิบายเนื้อหาของวิชานี้ เมื่อเพื่อนๆเข้าห้องเรียนครบแล้ว อาจารย์ก็ให้ยืนเป็นครึ่งวงกลม แล้วพาฝึกทำสมาธิอย่างง่าย เช่น มือซ้ายจับจมูก มือขวาจับหูซ้าย, มือซ้ายจีบ มือขวาทำรูปตัว L, มือซ้ายยกนิ้วโป้ง มือขวายกนิ้วก้อย สลับไปมา 10 ครั้ง



 
                เริ่มเข้าสู่กิจกรรมโดยการเต้นT26 ของครูนกเล็ก อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าและเสียงของสัตว์ที่ตนเองชอบ แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน โดยให้เพื่อน ๆ ทำไปพร้อมๆกัน








            จากนั้น อาจารย์ก็เปิดเพลง T26 โบกโบ๊กโบก แบบต้นฉบับ แล้วให้ทุกคนเต้นตาม จากนั้นก็ให้คิดท่าอะไรก็ได้ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และให้มีเสียงร้องเป็นทำนองเพลงด้วย 
         เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์จึงให้การบ้านว่า ให้ทุกคนไปฝึกเต้น เพลงอะไรก็ได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ต้นจนถึงท่อนฮุก แล้วให้ออกมาเต้นหน้าห้องเรียนในชั่วโมงต่อไป






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       เราสามารถนำวิธีการฝึกสมาธิอย่างง่ายมาใช้ในการเรียน การทำงาน หรือเมื่อเตรียมพร้อมที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายไปในตัวด้วย
เพลง T26 ของครูนกเล็ก ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ คือ การนำเพลงที่เด็กชอบ หรือเพลงที่ฮิตกันในช่วงนั้น มาดัดแปลงเป็นเพลงที่จะสอนให้เด็กได้รู้จักสัตว์ต่าง ๆ พร้อมท่าทางและเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ และเพลงต้นฉบับ ที่อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน ทำให้เราสามารถนำไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ